ยินดีต้อนรับสู่ โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย 

thzh-CNen

1 1574849850

ความเป็นมาของกัญชาทางการแพทย์

  1. ในหลายประเทศมีการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งควรผ่อนปรน พรบ.ยาเสพติดให้โทษ เพื่อให้สามารถนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ รวมถึงการวิจัยในระดับคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิผลของกัญชา
  2. สภานิติบัญญัติได้ทำการแก้ไข พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เป็น พรบ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 เพื่อให้สามารถนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ได้ พรบ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562
  3. กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวง ได้แก้
    1. ประกาศ กสธ.เรื่องการแจ้งการมีไว้ในครอบครองกัญชา (หมดเขต 16 พค.62)ประกาศ กสธ.เรื่องการแจ้งการมีไว้ในครอบครองกัญชา
    2. ประกาศ กสธ. การครอบครองยาเสพติดประเภทที่ 5 (กัญชา) สำหรัยผู้ป่วยประกาศ กสธ. การครอบครองยาเสพติดประเภทที่ 5 (กัญชา) สำหรัยผู้ป่วย
    3. ประกาศ กสธ. กำหนดให้ยาเสพติดประเภทที่ 5 เฉพาะกัญชา ตกเป็นของ กระทรวงสาธารณสุขประกาศ กสธ. กำหนดให้ยาเสพติดประเภทที่ 5 เฉพาะกัญชา ตกเป็นของ กระทรวงสาธารณสุข สำหรัยผู้ป่วย
    4. ประกาศ กสธ. กำหนดตำรับยาเสพติดประเภทที่ 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคและวิจัยได้ประกาศ กสธ. กำหนดตำรับยาเสพติดประเภทที่ 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคและวิจัยได้
    5. ประกาศ กสธ. กำหนดผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุง หรือสงั่จ่ายตา รับยาที่มีกัญชาปรงุผสมอยู่ด้ พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกาศ กสธ. กำหนดผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุง หรือสงั่จ่ายตา รับยาที่มีกัญชาปรงุผสมอยู่ด้ พ.ศ. ๒๕๖๒
    6. เรื่อง ระบุชื่อยาเสพตดิให้โทษในประเภท ๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ เรื่อง ระบุชื่อยาเสพตดิให้โทษในประเภท ๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
  4. กรมการแพทย์ได้จัดทำคู่มือ คำแนะนำในการใช้กัญชามาใช้ในทางการแพทย์ (Guidance for Canabis for Medical Use)คำแนะนำในการใช้กัญชามาใช้ในทางการแพทย์ (Guidance for Canabis for Medical Use)และแพทย์ที่สามารถจะใช้กัญชาเพื่อการรักษาได้ จะต้องเป็นแพทย์ที่ผ่านการอบรมและมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ไม่ใช่แพทย์ทุกรายที่จะสามารถจะใช้กัญชาเพื่อการรักษาได้
  5. คู่มือในข้อ 4 กำหนด โรคหรือภาวะที่มีช้อมูลเชิงประจักษ์ 4 โรคว่าการใช้กัญชาเพื่อการรักษามีประสิทธิผล และควรนำกัญชามาใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีการเดิมแล้วไม่ได้ผล (second choice) ไม่ใช่เลือกกัญชาเป็นลำดับแรก (First Choice) และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย ได้แก่
    1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด (Chemotherapy induced nausea vomitting)
    2. โรคลมชักที่รักษายาก หรือโรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษา (Intractable Epilepsy)
    3. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
    4. ภาวะปวดประสาท (Neurotic pain)
  6. คู่มือในข้อ 4 กำหนดว่า ผลิตภัณฑ์กัญชาน่าจะได้ประโยชน์ (มีข้อมูลการศึกษาจำกัด ซึ่งต้องได้รับการศึกษาวิจัยถึงประสิทธิผลอย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อสนับสนุนต่อไป) ในการควบคุมอาการ แต่ไม่ได้รักษาให้โรคหายขาด อีก 6 โรค/ภาวะ ได้แก่
    1. ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (Paliative Care)
    2. ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย (End stage cancer)
    3. โรคพาร์กินสัน
    4. โรคอัลไซเมอร์
    5. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)
    6. โรคปลอกประสาทอักเสบ (Demyelinated Diseases) อื่นๆ อาทิ Neuromyelitis optica และ Auto immune encephalitis